วันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

วันเสาร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552




การสืบพันธุ์และการถ่ายทอดลักษณะ





ระบบสืบพันธุ์เพศชาย
•ระบบสืบพันธุ์เพศชายประกอบด้วย อวัยวะที่สำคัญได้แก่ อัณฑะ ทำหน้าที่ สร้างเซลล์อสุจิและสร้างฮอร์โมนเพศชาย เช่น เสียงแตกห้าวมีลูกกระเดือก หนวดเครา เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีอวัยวะอื่น ๆ เช่น หลอดเก็บอสุจิ หลอดนำอสุจิ ท่อปัสสาวะ รวมถึงต่อมต่างๆ เช่น ต่อมสร้างน้ำนมอสุจิ ต่อมลูกหมาก และต่อมคาวเปอร์ เพศชายสร้างเซลล์อสุจิได้เมื่ออายุประมาณ 11-13 ปีและสร้างไปตลอดชีวิต

ระบบสืบพันธุ์เพศหญิง
•ระบบสืบพันธุ์ในเพศหญิง อวัยวะที่ทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์คือ
รังไข่ มี 2 ข้าง สร้างเซลล์สืบพันธุ์คือ เซลล์ไข่ และฮอร์โมนเพศหญิงควบคุมลักษณะเพศหญิง เช่น เสียงแหลมเล็ก เต้านมขยายใหญ่
สะโพกผาย
เซลล์ไข่ที่เจริญเติบโตเต็มที่เรียกว่า ไข่สุก จะเคลื่อนจากรังไข่สู่ปีกมดลูกเดือนละ 1 เซลล์ สลับข้างกัน เยื่อบุมดลูกสร้างตัวรอรับตัวอ่อน
ถ้าไข่ไม่ได้รับการผสมเยื่อบุผนังมดลูกจะสลายตัวกลายเป็นประจำเดือน
การปฏิสนธิ
*เมื่อนิวเคลียสของอสุจิเข้าผสมกับนิวเคลียสของไข่จึงเรียกว่า การปฏิสนธิ ซึ่งเกิดจากอสุจิ 1 ตัวผสมกับไข่ 1 ใบ

การกำเนิดชีวิตใหม่
•ชายหญิงเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ หญิงสร้างเซลล์ไข่ ชายสร้างเซลล์อสุจิ เมื่อมีเพศสัมพันธ์ อสุจิจะเข้าไปผสมกับเซลล์ไข่ที่ท่อนำไข่ เกิดการปฏิสนธิโดยไข่ 1 ใบผสมกับอสุจิ 1 ตัว กลายเป็นตัวอ่อน เรียกว่า เอ็มบริโอ ฝังตัวที่ผนังมดลูก จะมีถุงน้ำคร่ำห่อหุ้มตัวอ่อนไว้ ของเหลวภายในถุงน้ำคร่ำป้องกันการกระทบกระเทือนของทารกในครรภ์
•ทารกจะเจริญเติบโตใช้เวลา 9 เดือน หรือ 38 สัปดาห์ หรือ 280 วันนับตั้งแต่วันแรกของการมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย
•ครบกำหนดคลอด ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองมากระตุ้นให้มดลูกบีบตัว ปากมดลูกเปิด ทารกถูกดันออกมาทางปากช่องคลอด

แฝด
•แฝดร่วมไข่ คือการปฏิสนธิที่เกิดขึ้นโดยปกติ เซลล์อสุจิ 1 เซลล์ ผสมกับเซลล์ไข่ 1 เซลล์ แต่มีความผิดปกติที่ระยะไซโกต มีการแบ่งเซลล์ 1 เซลล์เป็น 2 เซลล์ จึงได้ทารก 2 คน ที่มีลักษณะเหมือนกันทุกประการเป็นเพศเดียวกันเสมอ
•แฝดต่างไข่ คือการปฏิสนธิที่เกิดขึ้นจากไข่ตก 2 เซลล์พร้อมกันหรือมากกว่า 2 เซลล์ ปฏิสนธิกับอสุจิใบละตัว ทำให้ได้ทารก 2 คน ที่มีลักษณะคล้ายกันแต่อาจเป็นเพศเดียวกันหรือคนละเพศ
พันธุกรรม
•การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีลักษณะเฉพาะและแตกต่างจากสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เช่น สีผม สีผิว สีขน ตา แขน ขา ใบหู ผิวหนัง เป็นต้น
เกรเกอร์ เมนเดล บาทหลวงชาวออสเตรีย เป็นผู้ค้นพบและอธิบายหลักการการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมโดยการผสมพันธุ์ถั่วลันเตาจนได้รับยกย่องเป็น “บิดาแห่งวิชาพันธุศาสตร์”
เมนเดลศึกษาเพียง 7 ลักษณะที่แตกต่างอย่างชัดเจน เช่น ต้นสูงกับต้นเตี้ย เมล็ดกลมกับขรุขระ โดยกำหนดเมล็ดกลมลำต้นสูงเป็นลักษณะเด่น

ลักษณะเด่นของยีน

ลักษณะเด่น
โดยกำหนดเมล็ดกลมลำต้นสูงเป็นลักษณะเด่นจะปรากฏในรุ่นที่ 1
มีหน่วยควบคุมลักษณะเด่นนี้เรียกว่ายีน
เช่น สูง = T เมล็ดกลม = Y ดังนั้นสัญลักษณ์ต้นสูงเมล็ดกลมคือ TY(เป็นจีโนไทป์ คือ ลักษณะการจับคู่ของยีนที่ควบคุมลักษณะทางพันธุกรรม ส่วนฟีโนไทป์ ของยีนคือ ลำต้นสูงเมล็ดกลม)

ลักษณะด้อยของยีน
โดยกำหนดเมล็ดขรุขระลำต้นเตี้ยเป็นลักษณะด้อยจะปรากฏในรุ่นที่ 2
มีหน่วยควบคุมลักษณะด้อยนี้เรียกว่ายีน
เช่น เตี้ย = t เมล็ดขรุขระ = y ดังนั้นสัญลักษณ์ต้นเตี้ยเมล็ดขรุขระคือ ty (เป็นจีโนไทป์ คือ ลักษณะการจับคู่ของยีนที่ควบคุมลักษณะทางพันธุกรรม ส่วนฟีโนไทป์ ของยีนคือ ลำต้นเตี้ยเมล็ดขรุขระ)

สรุปการถ่ายทอดของเมนเดล
•1. การถ่ายทอดลักษณะแต่ละลักษณะถูกตัดสินโดยยีนที่ผ่านไปสู่รุ่นต่อไปไม่เปลี่ยนแปลง
•2. รับลักษณะทางพันธุกรรมอย่างละ 1 ชุด จากพ่อและแม่
•3. ลักษณะอาจไม่ปรากฏในรุ่นนี้แต่ถ่ายทอดยังรุ่นต่อไป
•4. เป็นจริงก็ต่อเมื่อเป็นยีนในนิวเคลียสไม่เกี่ยวกับยีนที่อยู่บน โครโมโซมแท่งเดียวกัน